วันนี้มาทำความรู้จักกับประเทศออสเตรียกันนิดนึงค่ะ ไหนๆก็จะมาเป็นสะใภ้ออสเตรียกับเค้าแล้ว จะได้รู้ที่ไปที่มาของประเทศเค้าบ้าง พูดถึงออสเตรียแล้ว ชาวบ้านมักจะโมเมไปว่าเป็นออสเตรเลียอยู่เรื่อยเลยค่ะ ต้องถือโออาสอธิบายกันยืดยาวเลยว่า ออสเตรียเนี่ยเป็นประเทศเล็กๆอยู่ทางแถบยุโรปกลาง ส่วนออสเตรเลียเนี่ยอยู่ทวีปออสเตรเลียเลย เยื้องไปทางใต้ของบ้านเรา อาจจะเป็นเพราะประเทศไทยเราอยู่ใกล้กับออสเตรเลีย มากกว่ามั้ง คนเค้าเลยรู้จักออสเตรเลียมากกว่าออสเตรีย มีเพื่อนชาวออสเตรียคนนึงค่ะ เค้าไปเที่ยวเมืองไทย แล้วคนไทยก็ถามเค้าว่ามาจากที่ไหน เค้าก็ตอบว่า "I'm from Austria" ด้วยความเป็นมิตร คนไทยจึงบอกว่า อ้อ ออสเตรเลีย รู้จักดีเลยหล่ะ เมืองจิงโจ้นี่เอง ต่อท้ายด้วยว่า ประเทศคุณสวยดีน่ะ ... เพื่อนแอบน้อยใจค่ะ มาบ่นกะเราว่าชั้นเพิ่งรู้ว่าบ้านชั้นมีจิงโจ้ ด้วยหล่ะเธอ เราต้องบอกไปว่าคนทั่วไทยโดยไปเค้ารู้จักเวียนนามากกว่าอ่ะ เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่สวยที่สุด อันดับต้นๆของโลก เพราะฉะนั้นให้บอกว่ามาจากเวียนนา ทีนี้เค้าจะรู้จักเลยหล่ะ
คราวนี้มาเข้าเนื้อหาสาระกันบ้างค่ะ สาธารณรัฐออสเตรีย (Österreich, Republic of Austria)
ประเทศออสเตรีย เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลางค่ะ เพราะฉะนั้นอาหารทะเลที่นี่จึงมีแต่อาหารทะเลแช่แข็ง นอกจากไม่สดแล้วยังราคาแพงอีกด้วย คนไทยที่มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆต้องทำใจกันนิดนึงค่ะ กลับไปเมืองไทยก็ต้องกินซีฟู้ดกักตุนกันบ้าง อิอิ มาดูกันค่ะว่าออสเตรียอยู่ไหน ออสเตรียมีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและสาธารณรัฐเช็ก ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์
ออสเตรียประกอบด้วย 9 รัฐ (states - Bundesländer) รัฐเหล่านี้มีสถานะเป็นมหานคร มีอำนาจปกครองเป็นอิสระยกเว้นการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น เขต (districts - Bezirke) และ นคร (cities - Statutarstädte) ซึ่งในเขตแต่ละแห่งยังแบ่งออกเป็นเทศบาล (municipalities- Gemeinden)
1. รัฐบูร์เกนลันด์ (Burgenland) มีเมืองไอเซนชตัดท์ (Eisenstadt) เป็นเมืองหลวง
2. รัฐคารินเทีย หรือ แคร์นเทิน (Carinthia; Kärnten) มีเมืองคลาเกนฟูร์ท (Klagenfurt) เป็นเมืองหลวง
3. รัฐโลเออร์ออสเตรีย หรือ นีเดอเริสเทอร์ไรค์ (Lower Austria; Niederösterreich) มีเมืองซังคท์เพิลเทิน(St.Pölten) เป็นเมืองหลวง
4. รัฐอัปเปอร์ออสเตรีย หรือ โอเบอเริสเทอร์ไรค์ (Upper Austria; Oberösterreich) มีเมืองลินซ์ (Linz) เป็นเมืองหลวง
5. รัฐซาลซ์บูร์ก (Salzburg) มีเมืองซาลซ์บูร์ก เป็นเมืองหลวง
6. รัฐสติเรีย หรือ ชไตเออร์มาร์ค (Styria; Steiermark) มีเมืองกราซ (Graz) เป็นเมืองหลวง
7. รัฐทิโรล (Tirol) มีเมืองอินส์บรุค (Innsbruck) เป็นเมืองหลวง
8. รัฐโฟราร์ลแบร์ก (Vorarlberg) มีเมืองเบรเกนซ์ (Bregenz) เป็นเมืองหลวง
9. รัฐเวียนนา หรือ วีน (Vienna; Wien)
เวียนนาประกอบด้วย 23 อำเภอ หรือภาษาเยอรมันเรียกว่า Bezirk โดยนับจากเริ่มนับจาก Center ของเมืองตามเข็มนาฬิกา ซึ่งเด็กๆนักเรียนทุกคนจะต้องเรียนและจำชื่อในแต่ล่ะอำเภอให้ได้ ทีนี้เจ้าของบล็อกยังจำไม่ได้เลย ขอโพสต์ไว้เป็นข้อมูลให้ตัวเองนิดนึงค่ะ
Namen und Postleitzahlen der Wiener Bezirke
1. Bezirk, 1010 Wien: Innere Stadt |
2. Bezirk, 1020 Wien: Leopoldstadt |
3. Bezirk, 1030 Wien: Landstraße |
4. Bezirk, 1040 Wien: Wieden |
5. Bezirk, 1050 Wien: Margareten |
6. Bezirk, 1060 Wien: Mariahilf |
7. Bezirk, 1070 Wien: Neubau |
8. Bezirk, 1080 Wien: Josefstadt |
9. Bezirk, 1090 Wien: Alsergrund |
10. Bezirk, 1100 Wien: Favoriten |
11. Bezirk, 1110 Wien: Simmering |
12. Bezirk, 1120 Wien: Meidling |
13. Bezirk, 1130 Wien: Hietzing |
14. Bezirk, 1140 Wien: Penzing |
15. Bezirk, 1150 Wien: Rudolfsheim-Fünfhaus |
16. Bezirk, 1160 Wien: Ottakring |
17. Bezirk, 1170 Wien: Hernals |
18. Bezirk, 1180 Wien: Währing |
19. Bezirk, 1190 Wien: Döbling |
20. Bezirk, 1200 Wien: Brigittenau |
21. Bezirk, 1210 Wien: Floridsdorf |
22. Bezirk, 1220 Wien: Donaustadt |
23. Bezirk, 1230 Wien: Liesing |
ประวัติศาสตร์ออสเตรียโดยสังเขป
ก่อนปลายศตวรรษที่ 8 ดินแดนซึ่งเป็นประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ที่สำคัญได้แก่ ชนเผ่าเยอรมัน ซึ่งได้ข้ามแม่น้ำดานูบลงมาทางใต้ และชาวสลาฟซึ่งได้อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของออสเตรีย จนสิ้นสุดศตวรรษที่ 8 กษัตริย์ Charlemagne ได้ก่อตั้งเขตชายแดนระหว่างแม่น้ำอินส์ แรบ และดราวา เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันการรุกรานของชาวเอวาร์ และภายหลังจากที่ชาวโรมันได้อพยพออกไป นักบวชชาวไอริชและสก็อตจึงได้เข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในดินแดนบริเวณเทือกเขาอัลไพน์แห่งนี้ ราชวงศ์ Babenberg ของชาวบาวาเรียนได้เข้าปกครองออสเตรียในปี ค.ศ. 976 ซึ่งยังมีประชาชนอยู่เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษต่อๆ มา ราชวงศ์ Babenberg ได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งให้แก่อาณาจักร และขยายประเทศไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังจากที่ราชวงศ์ Babenberg ได้หมดอำนาจลงในกลางศตวรรษที่ 13 ราชวงศ์ Habsburg ได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนนี้แทน และขยายอาณาเขตออกไปจนถึงแถบประเทศสเปน จนกระทั่ง ในปี 1522 ราชวงศ์ Habsburg จึงได้แตกออกเป็นสายออสเตรีย และสายสเปน อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ Habsburg ยังคงขยายอาณาเขตต่อไป โดยในปี ค.ศ. 1526 ได้ผนวกดินแดนโบฮีเมียและฮังการี เข้าไว้ด้วย ทั้งนี้ ในช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ออสเตรียต้องเผชิญหน้ากับอาณาจักรออตโตมัน แต่โดยที่ออสเตรียสามารถเอาชนะกองทัพของอาณาจักรออตโตมันได้ ออสเตรียจึงได้ครอบครองดินแดนเพิ่มขึ้น และกลายเป็นมหาอำนาจรายหนึ่งในยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 จักรพรรดินีมาเรีย เธเรซา และโจเซฟ ที่สอง ได้ทำการปฏิรูป และวางรากฐานการปฏิรูปการบริหารจัดการของรัฐให้ทันสมัย แต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ได้ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นเปลี่ยนไป นอกจากนี้ หลังจากที่อิตาลีได้ก่อตั้งขึ้นเป็นประเทศ ราชวงศ์ฮับสบรูกส์ต้องต้องยินยอมต่อการเคลื่อนไหวของนักชาตินิยมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปี ค.ศ. 1867 จักรพรรดิฟรันซ์ โจเซฟ จึงได้ยอมตั้งราชวงศ์ร่วม (double monarchy) ออสเตรีย - ฮังการี ราชวงศ์ออสเตรีย - ฮังการี เป็นผู้เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี ค.ศ. 1914-1918 อันมีสาเหตุเนื่องมากจากการลอบสังหารเจ้าชาย Francis-Ferdinand ซึ่งเป็นทายาทของราชวงศ์ออสเตรีย - ฮังการี โดยนักชาตินิยมชาวเซิร์บ โดยออสเตรียเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ออสเตรียจึงได้ประกาศตัวเป็นสาธารณรัฐ แต่ในขณะนั้น ออสเตรียมิได้มีอำนาจดังเช่นในอดีตแล้ว ในปี ค.ศ. 1938 ออสเตรียถูกกดดันจากเยอรมนีภายใต้การนำของฮิตเลอร์ และประสบกับภาวะการขาดเสถียรภาพภายในประเทศในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1945 เมื่อสงคราม โลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศพันธมิตรได้ช่วยออสเตรียให้ฟื้นตัวขึ้นสู่ความเป็นประเทศสาธารณรัฐอีกครั้ง แต่ออสเตรียยังคงถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส อังกฤษ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาจนถึงปี 1955 ซึ่งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาประเทศออสเตรีย และในปีเดียวกัน รัฐสภาออสเตรียได้ออกกฎหมายให้ออสเตรียเป็นประเทศที่มีสถานะเป็นกลางอย่างถาวร รวมทั้งได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วย ออสเตรียได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 และได้เป็นประธานสภาสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรกในครึ่งหลังของปี ค.ศ. 1995.
ก่อนปลายศตวรรษที่ 8 ดินแดนซึ่งเป็นประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ที่สำคัญได้แก่ ชนเผ่าเยอรมัน ซึ่งได้ข้ามแม่น้ำดานูบลงมาทางใต้ และชาวสลาฟซึ่งได้อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของออสเตรีย จนสิ้นสุดศตวรรษที่ 8 กษัตริย์ Charlemagne ได้ก่อตั้งเขตชายแดนระหว่างแม่น้ำอินส์ แรบ และดราวา เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันการรุกรานของชาวเอวาร์ และภายหลังจากที่ชาวโรมันได้อพยพออกไป นักบวชชาวไอริชและสก็อตจึงได้เข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในดินแดนบริเวณเทือกเขาอัลไพน์แห่งนี้ ราชวงศ์ Babenberg ของชาวบาวาเรียนได้เข้าปกครองออสเตรียในปี ค.ศ. 976 ซึ่งยังมีประชาชนอยู่เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษต่อๆ มา ราชวงศ์ Babenberg ได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งให้แก่อาณาจักร และขยายประเทศไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังจากที่ราชวงศ์ Babenberg ได้หมดอำนาจลงในกลางศตวรรษที่ 13 ราชวงศ์ Habsburg ได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนนี้แทน และขยายอาณาเขตออกไปจนถึงแถบประเทศสเปน จนกระทั่ง ในปี 1522 ราชวงศ์ Habsburg จึงได้แตกออกเป็นสายออสเตรีย และสายสเปน อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ Habsburg ยังคงขยายอาณาเขตต่อไป โดยในปี ค.ศ. 1526 ได้ผนวกดินแดนโบฮีเมียและฮังการี เข้าไว้ด้วย ทั้งนี้ ในช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ออสเตรียต้องเผชิญหน้ากับอาณาจักรออตโตมัน แต่โดยที่ออสเตรียสามารถเอาชนะกองทัพของอาณาจักรออตโตมันได้ ออสเตรียจึงได้ครอบครองดินแดนเพิ่มขึ้น และกลายเป็นมหาอำนาจรายหนึ่งในยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 จักรพรรดินีมาเรีย เธเรซา และโจเซฟ ที่สอง ได้ทำการปฏิรูป และวางรากฐานการปฏิรูปการบริหารจัดการของรัฐให้ทันสมัย แต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ได้ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นเปลี่ยนไป นอกจากนี้ หลังจากที่อิตาลีได้ก่อตั้งขึ้นเป็นประเทศ ราชวงศ์ฮับสบรูกส์ต้องต้องยินยอมต่อการเคลื่อนไหวของนักชาตินิยมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปี ค.ศ. 1867 จักรพรรดิฟรันซ์ โจเซฟ จึงได้ยอมตั้งราชวงศ์ร่วม (double monarchy) ออสเตรีย - ฮังการี ราชวงศ์ออสเตรีย - ฮังการี เป็นผู้เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี ค.ศ. 1914-1918 อันมีสาเหตุเนื่องมากจากการลอบสังหารเจ้าชาย Francis-Ferdinand ซึ่งเป็นทายาทของราชวงศ์ออสเตรีย - ฮังการี โดยนักชาตินิยมชาวเซิร์บ โดยออสเตรียเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ออสเตรียจึงได้ประกาศตัวเป็นสาธารณรัฐ แต่ในขณะนั้น ออสเตรียมิได้มีอำนาจดังเช่นในอดีตแล้ว ในปี ค.ศ. 1938 ออสเตรียถูกกดดันจากเยอรมนีภายใต้การนำของฮิตเลอร์ และประสบกับภาวะการขาดเสถียรภาพภายในประเทศในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1945 เมื่อสงคราม โลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศพันธมิตรได้ช่วยออสเตรียให้ฟื้นตัวขึ้นสู่ความเป็นประเทศสาธารณรัฐอีกครั้ง แต่ออสเตรียยังคงถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส อังกฤษ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาจนถึงปี 1955 ซึ่งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาประเทศออสเตรีย และในปีเดียวกัน รัฐสภาออสเตรียได้ออกกฎหมายให้ออสเตรียเป็นประเทศที่มีสถานะเป็นกลางอย่างถาวร รวมทั้งได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วย ออสเตรียได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 และได้เป็นประธานสภาสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรกในครึ่งหลังของปี ค.ศ. 1995.
การเมืองการปกครอง
ออสเตรียปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเป็นฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 6 ปี และอาจดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระ ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากหัวหน้าพรรคที่ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงข้างมากในสภาเพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี รัฐสภาประกอบด้วยสภาล่าง (Nationalsrat) มีสมาชิก 183 คน ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก 4 ปี และสภาสูง (Bundesrat) มีสมาชิก 64 คน ได้รับเลือกตั้งจากสภาจังหวัด (Provincial Diet)
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่ 83,871 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงเวียนนา
ประชากร 8.35 ล้านคน ประกอบด้วยชาวออสเตรียนร้อยละ 91.1 ชาวอดีตยูโกสลาฟ (โครแอต สโลวีน เซิร์บและบอสเนียน)ร้อยละ 4 ชาวเติร์กร้อยละ 1.6 ชาวเยอรมันร้อยละ 0.9
ภูมิอากาศ ภูมิอากาศอบอุ่นแบบภาคพื้นทวีป ในฤดูหนาวมีฝนตกบ่อยและมีหิมะปกคลุมในแถบภูเขา ในฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นและมีฝนโปรยในบางครั้ง
ภาษา เยอรมัน
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 73.6 คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ร้อยละ 4.7 มุสลิมร้อยละ 4.2 อื่นๆ ร้อย ละ 3.5 ไม่ระบุร้อยละ2 ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 12
หน่วยเงินตรา ยูโร
เวลา ฤดูร้อนช้ากว่าเมืองไทย 5 ชม. CEST (UTC+2) ฤดูหนาวช้ากว่าเมืองไทย 6 ชั่วโมง CET (UTC+1)
วันนี้เอาแค่พอหอมปากหอมคอไปก่อนค่ะ เดี๋ยวมาต่อวันหน้า มีเรื่องราวอยากเขียนเยอะแยะไปหมด แต่ตอนนี้ไม่อยากเนื้อหาสาระมาก เดี๋ยวจะเบื่อกันไปก่อน อิอิ ..วันนี้ขอตัวไปช๊อปปิ้งก่อนล่ะค่ะ.. ^^
Credit & More information :